https://www.facebook.com/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%A2%E0%B8%B3-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%87-Kru-Saithip-114076690236459/
บริเฉทที่ 7 – หมูฮ้อง
อาหารเก่าแก่ชนิดนี้หากินได้มากในภูเก็ต สันนิษฐานว่าป็นอาหารจีนฮกเกี้ยน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อพยพโยกย้ายกันเข้ามามาก หมูฮ้องกับหมูพะโล้มีความใกล้เคียงกัน แต่เมื่อเข้ามาสู่คาบสมุทรแถบนี้ทำให้เกิดการผสมผสานจนออกมาเป็นเอกลักษณ์ของอาหารเปอรานากันที่ชัดเจนขึ้น หลายตำรับมีการเล่นกับรสเปรี้ยวโดยใช้ส้มแขกบ้าง มะขามเปียกบ้าง สับปะรดบ้าง ให้ออกรสเปรี้ยวอ่อนๆ ส่วนความหวานที่โดดเด่นของอาหารจานนี้มีตั้งแต่อ้อย น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายแดง (โอวทึ้ง) สุดแต่จะเลือกใช้ เพิ่งมาหลังๆนี้ที่เปลี่ยนมาใช้น้ำตาลปี๊บกับน้ำตาลทราย
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับหมูฮ้องว่า ราวปี ค.ศ.909 ฮ่องเต้เหลียงไท่จู่ แห่งราชวงศ์โฮ่วเหลียง แต่งตั้ง หวังเสิ่นจือ มาปกครองมณฑลหมิ่น หรือมณฑลฮกเกี้ยนในปัจจุบัน ตอนที่หวังเสิ่นจือเดินทางมาถึงฮกเกี้ยน ชนพื้นเมืองให้การต้อนรับอย่างดี ขุนนางในท้องที่ร่วมกันทำอาหารเลี้ยงฉลองที่หวังเสิ่นจือได้รับการแต่งตั้ง โดยนำหมูสามชั้นตัดเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส เลียนแบบตราประทับที่ฮ่องเต้แต่งตั้ง คำว่า ฮ้อง เพี้ยนมาจากภาษาจีนฮกเกี้ยน แปลว่า แต่งตั้ง
อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า คราวที่เมืองถงอันมีเทศกาลแห่พระ ผู้คนแต่ละบ้านจะทำโจ๊กหรือข้าวต้มให้คนหามเกี้ยวและผู้มาร่วมงาน เพราะเชื่อว่าโจ๊กบ้านไหนที่มีคนกินเยอะ บ้านนั้นจะเจริญรุ่งเรือง ในปีนั้นมีบ้านหนึ่งอยากทำอาหารแบบบ้านคนอื่นแต่ด้วยความยากจน จึงขายทรัพย์สินในบ้านเพื่อไปซื้อหมูเอามาต้มกับซีอิ๊วสำหรับวางบนโจ๊ก เมื่อทำเสร็จกลิ่นหอมไปทั่ว ผู้คนก็ต่างพากันถือถ้วยชามมารับโจ๊กกันมากมาย ไม่กี่ปีต่อมา เขามีฐานะร่ำรวยขึ้น ผู้คนจึงเลียนแบบวิธีการทำของเขา จนอาหารจานนี้แพร่หลายไปมาจึงปัจจุบัน
Call 091 546 2345
KC29 Ohm ครูสายฐิพย์
Reviews
There are no reviews yet.